ปัญหาเรื้อรังสำคัญของการศึกษาไทยต่อการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษาที่ไม่มีใครมองเห็น

……….ช่วงเวลาในการสอนไม่เอื้อต่อการใช้รูปแบบจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพอื่น ๆ  การเรียนรู้รายคาบถูกกำหนดให้เป็นตามแผนการสอนของหลักสูตรแกนกลาง โดนมีปัจจัยทางด้านปริมาณเนื้อหากับกิจกรรมในชั้นเรียนไม่สัมพันธ์กัน โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือช่วงเวลาของการสอบกลางภาค-ปลายภาคที่ถูกกำหนดแน่นอน

….……1. การที่ผู้สอนมีเงื่อนไขสำคัญ คือ ภาระงานสอนและงานอื่น ๆ ของครูมีมากเกินไป ซึ่งการสอนให้เสร็จสิ้นเนื้อหาตามแผนการสอน ก่อนการสอบกลางภาคและปลายภาค เป็นภาระงานที่สำคัญอันหนึ่งซึ่งยืดหยุ่นได้ยากและส่งผลต่อผู้เรียนโดยตรง เวลาต่อคาบการสอนของครูเพียง 50 นาทีต่อ 1 คาบการเรียนการสอนไม่เพียงพอกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สลับซับซ้อนได้ จึงเป็นผลให้การนำรูปแบบการเรียนการสอนที่มีกิจกรรมจำนวนมาก ซับซ้อน เช่น การสอนแบบบูรณาการ การสอนแบบโครงงาน การสอนแบบเด็กเป็นศูนย์กลางไม่เคยประสบความสำเร็จมาหลายสิบปี เนื่องจากการรูปแบบยากต่อการนำมาบรรจุในคาบเรียนที่จำกัด ยิ่งเด็กที่มีพื้นฐานการอ่าน การเขียนไม่แตกฉานซึ่งอยู่ในพื้นที่ชนบท ยิ่งทำให้การเรียนในชั้นเรียนล่าช้า การสอนซ้ำ การสอนด้วยรูปแบบบรรยายแบบปกติจึงเป็นความจำเป็นด้วยระยะเวลาการสอนที่จำกัด จึงเป็นสาเหตุสำคัญให้การใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนไม่สามารถทำได้ในโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล   ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนจะรับความรู้ที่ถ่ายทอดได้ไม่เท่ากัน การสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลางเพียงอย่างเดียวนี้จะไม่ตอบสนองความแตกต่างรายบุคคลได้ครบทั้งหมด จึงทำให้ผู้เรียนบางส่วนเกิดความเบื่อหน่าย ไม่อยากเรียน และเกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ครูคิดว่าเป็นปัญหา การที่ครูไม่คำนึงถึงหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลอาจทำให้สัมฤทธิผลทางการเรียนของนักเรียนไม่ดีนัก การเรียนการสอนไม่เกิดประสิทธิภาพ และเพิ่มความเบื่อหน่ายต่อชั้นเรียนของผู้เรียน สามารถแก้ปัญหาโดยการนำเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษามาใช้ในกระบวนการเร่งการเรียนรู้หรือการเรียนรู้เนื้อหาล่วงหน้าได้เพื่อลดภาระทางปัญญาของเด็ก (cognitive Load) และลดระยะเวลาในการสอนของครู

…….2. จำนวนนักเรียนในชั้นเรียนมากหรือน้อยเกินไปมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู นักเรียนน้อยเกินไป ครูมีความรู้สึกเฉื่อย นักเรียนมากเกินไป ครูรู้สึกว่าควบคุมการถ่ายโอนความรู้ได้ยากคาดหวังผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้ยากและไม่ทั่วถึง นักเรียนจึงขาดความมุ่งมั่นในการเรียน ขาดความรับผิดชอบ ขาดความอดทนขาดระเบียบวินัย ไม่กล้าแสดงออก ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านสื่อการสอนจึงเป็นสิ่งสำคัญ สามารถแก้ปัญหาโดยการนำเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษามาใช้ในกระบวนการเร่งการเรียนรู้แบบกลุ่มในชั้นเรียนที่มีเด็กมาก และแบบรายบุคคลที่มีเด็กน้อย หรืออาจใช้ในลักษณะเล่นเป็นการบ้าน สื่อเสริมนอกเวลา ใช้ซ่อมเสริมเนื้อหานอกเวลาเรียนกับผู้เรียนบางราย ซึ่งเป็นการศึกษาแบบนำตนเองโดยใช้ทรัพยากรส่วนบุคคล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์มือถือแบบพกพา ร่วมกับการใช้ทรัพยากรสารสนเทศแบบพอเพียง เป็นต้น

……….3.ความต้องการของนักเรียนและทัศนคติของนักเรียนต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียน เช่น ไม่เห็นความสำคัญของการเรียน การสอบ ระดับคะแนน คำชม การติดดาว เนื่องจากไม่ใช่สิ่งที่ผู้เรียนต้องการจริง ๆ ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลาย การเล่นเกม ความเพลิดเพลิน รอยยิ้ม หัวเราะ เพลง รูปภาพ เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติในวัยเด็กแต่ไม่ค่อยได้รับจากห้องเรียน นักเรียนส่วนใหญ่จึงเกิดความรู้สึกพอใจต่อการเรียนการสอนด้วยเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน การใช้สื่อจึงควรฝึกให้เด็กจัดแบ่งเวลา ควบคุมการเล่นเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษามากกว่าการห้ามหรือมีทีศนคติเชิงลบที่น่ากลัว เพราะการทำให้เด็กเกลียดกลัวห่างไกลจากเกมดิจิทัลเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

……….4. หนี้สินของครูมีมากเกินตัว


สภาพปัญหาการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน


…….ปัญหาการจัดการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการ ตามโครงการ ICT เพื่อการศึกษา มีประเด็นน่าสนใจดังนี้

……....1.ปัญหาการจัดจ้างพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Contents) ในรูปแบบสื่อออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ e-learning e-Book หรือ Applications ต่าง ๆ ไม่น่าสนใจหรือไม่ตรงกับความต้องการของครูและนักเรียน สื่อบางชนิดไม่เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียนในพื้นที่ขยายโอกาส มีข้อจำกัดทางเทคนิคในการใช้งาน ครูขาดทักษะและทรัพยากรพื้นฐานทางสารสนเทศที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ หรือเกิดการจัดจ้างพัฒนาสื่อที่ไร้ประสิทธิภาพในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากส่วนกลาง ซึ่งไม่เข้าใจสภาพแวดล้อมทางการเรียนของเด็กที่อยู่ในพื้นที่ขยายโอกาสหรือพื้นที่ระเบียงการศึกษา

……….การจัดจ้างในการพัฒนาสื่อดิจิทัลจกส่วนกลางไม่ได้ถูกควบคุมอย่างใกล้ชิดจากนักเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา ผู้ผลิตมักเป็นบริษัทประมูลที่ขาดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงในการพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษา ผลลัพธ์จึงไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง กอปรกับกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้มีความเข้มแข็งในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ มีจุดอ่อนในเรื่องระบบคุณภาพของบุคลากรในองค์กรที่ไม่ได้ผลัดเปลี่ยนบุคลากรรุ่นใหม่ เป็นแหล่งสะสมแผนยุทธศาสตร์เกินจริง จึงไม่สามารถจัดการการผลิตสื่อดิจิทัลทางการศึกษาในความเป็นจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

……….2. ปัญหาด้านขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการผลิตสื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษา รวมถึงการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน รวมถึงเข้าใจเรื่องการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่อดิจิทัลทางการศึกษา ไม่มีประสบการณ์ในการใช้สื่อนวัตกรรมทางการศึกษา ไม่เข้าใจและรู้จักวิธีการใช้นวัตกรรม ครูวิชาเอกเทคโนโลยีทางการศึกษาไม่เพียงพอต่อความต้องการ ครูขาดศักยภาพในการจัดทำสื่อดิจิทัลทางการศึกษา บุคลากรส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการใช้นวัตกรรม ครูวิชาเอก ไม่มีความสามารถทางสารสนเทศ และไม่มีความรู้เรื่องการผลิตสื่อการเรียนการสอนแบบดิจิทัล นักเทคโนโลยีทางการศึกษา ขาดทักษะทางมัลติมีเดียและอินเทอร์แรกทีฟ รวมถึง เนื้อหารายวิชา  และบุคลากรทางการศึกษาไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียและอินเทอร์แรกทีฟ รวมถึงการทำกราฟิกในระบบดิจิทัล จึงเป็นจุดอ่อนที่การใช้เทคโนโลยีและการ

สื่อสารการศึกษาไม่ประสบความสำเร็จในห้วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ยกเว้น ระบบการศึกษาทางไกลที่มีการพัฒนาอย่างโดดเด่นต่อเนื่อง สังเกตว่าในหลายสิบปีที่ผ่านมา มีวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาที่เกี่ยวกับสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน e-Learning, e-book มากมายในแต่ละปีที่ผลิตทั้งบัณฑิตปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก นักศึกษาเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรประจำการหรือครูในภาครัฐที่ใกล้ชิดกับนักเรียนจริง ๆ แต่กลับไม่สามารถนำงานวิจัยเหล่านั้นมาใช้ได้จริง ถูกใช้แค่ในกลุ่มตัวอย่างกรณีศึกษาชั้นเรียนเล็ก ๆ และรายงานผลการวิจัยเพื่อขอสำเร็จการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าการสอนด้วยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงมีคำถามข้อสงสัยตามมาว่าสื่อดิจิทัลทางการศึกษาเหล่านี้เหตุใดจึงไม่สามารถนำมาใช้จริงได้ อีกทั้งบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการขาดทักษะความรู้ด้านสื่อดิจิทัลและการประยุกต์ใช้ทางการศึกษาเนื่องจากไม่ใช่สมรรถนะหลักขององค์กรกอปรกับกระแสโลกาภิวัฒน์การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว

……....3. ปัญหาด้านวัสดุ อุปกรณ์ และงบประมาณ เกี่ยวกับนวัตกรรมการผลิตสื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษา คือ ขาดงบประมาณในการพัฒนานวัตกรรม ขาดวัสดุ – อุปกรณ์และงบประมาณที่จะพัฒนาสื่อนวัตกรรม การจัดหา การใช้ การดูแลรักษาและขาดงบจัดหาสื่อทันสมัย ขาดแนวทางการแก้ไขที่ถูกต้อง รอคอยการเพิ่มงบประมาณจากส่วนกลางให้เพียงพอ ให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องจัดหางบประมาณสนับสนุน สำนักงานเขตพื้นที่ต้องช่วยดูแลและให้ความช่วยเหลือจัดสรรงบประมาณได้ เพื่อใช้ในการพัฒนานวัตกรรมให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น และขาดการวางแผนระดมทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นเรียน  ไม่มีแผนการผลิตสื่อดิจิทัลที่เหมาะสมกับงบประมาณ หากแต่ปราศจากการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า เนื่องจากขาดความรู้ในด้านการพัฒนาและประยุกต์ใช้สื่อการเรียนการสอนประสิทธิภาพสูงต้นทุนต่ำได้อย่างคุ้มค่า เกิดการรอคอยทรัพยากรเกินความจำเป็นและฟุ่มเฟือยด้วยความสำคัญผิด

……….4.ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม และสถานที่ การใช้นวัตกรรมสื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษา สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปยังไม่เหมาะสมกับการใช้สื่อ เนื่องจากความยุ่งยากและไม่คล่องตัว สถานที่ไม่เป็นสัดส่วน ไม่มีห้องที่ใช้เพื่อเก็บรักษาสื่อสื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษาเป็นการเฉพาะ ทำให้การดูแลทำได้ยากและขาดการวางแผนที่มีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง แนวทางการแก้ไข คือ ใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษาตามความเหมาะสมของเนื้อหาวิชาตามความยากง่ายของเนื้อหา จัดทำห้องสื่อเคลื่อนที่ แบ่งสื่อไปให้ครูประจำวิชารับผิดชอบและพื้นที่การจัดเก็บให้มีขนาดเล็กลง สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายและปลอดภัยจากการถูกทำลาย

……….5.ปัญหาด้านสภาพการเรียนการสอน เด็กมีความแตกต่างกันด้านสติปัญญา และด้านร่างกาย ปัญหาครอบครัวแตกแยก บางวิชามีเนื้อหาวิชาที่มากและสาระ การเรียนการสอนแต่ละครั้งสอนไม่ทันหรือไม่ต่อเนื่อง นักเรียนบางคนไม่สบายใจในกิจกรรม และทำไม่จริงจังจึงมีผลต่อการจัดกิจกรรม นักเรียนต้องเข้าคิวรอนานในแต่ละรอบการใช้งานกับสื่อดิจิทัลบางชนิดและสภาพการเรียนการสอน ครูยังยึดวิธีการสอนแบบบรรยาย คือ บรรยายหน้าชั้นเรียน แต่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มในการพัฒนาที่ดีขึ้น ครูยังไม่มีการมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง แนวทางการแก้ไข คือ จัดกลุ่มผู้เรียน

แบบเพื่อนช่วยเพื่อน โดยมีครูคอยกำกับแนะนำช่วยเหลือ จัดครูเข้าสอนตามประสบการณ์ความถนัด ควรจัดอบรมเพื่อให้ความรู้ จัดทำนวัตกรรมที่มีโอกาสเป็นไปได้และสร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชน สอนเพิ่มเติมนอกเวลา และจัดการสอนแบบรวมชั้น โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนตามช่วงชั้น  แต่อย่างไรก็ตามผู้เรียนมีสิ่งที่สนใจตามพัฒนาการไม่แตกต่างกันคือ การได้เล่นและได้เรียนรู้ไปควบคู่กันในแต่ละวัน

……….6.ปัญหาด้านความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการการสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษา ว่าเป็นสิ่งที่ยากและสำหรับครูในรายวิชาเอก คอมพิวเตอร์เท่านั้น ครูอาวุโสสูงอายุไม่มีความจำเป็นต้องมีทักษะด้านคอมพิวเตอร์และภาษาต่างประเทศ เป็นประเด็นความเฉื่อยทางจิตวิทยาที่แก้ไขได้ยาก

……….7.ปัญหาการขนย้าย การกระจายสื่อการเรียนการสอนแบบเอกสาร กระดาษ หนังสือแบบเรียน ลงไปยังเขตพื้นที่การศึกษาต่าง ๆ ให้ทั่วถึง ปัญหาการวางแผนจัดการโลจิสติกส์ผลิตภัณฑ์กระดาษที่มีน้ำหนักมาก เสี่ยงต่อการเสียหายในขณะขนส่ง แต่อย่างไรก็ตาม สื่อดิจิทัลทางการศึกษาแม้จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ อย่างไรก็ตามกระทรวงศึกษาธิการ ไม่มีโครงข่ายบริการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพเป็นของตนเอง

……….8. ปัญหาการคอรับชั่นในระบบราชการ