รูปแบบของการศึกษาต้องได้รับการปรับปรุงเพื่อตอบสนองต่อการเรียนรู้ดังกล่าวมากที่สุดจากรูปแบบการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม (Traditional education)      มาสู่รูปแบบการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีที่นำมาใช้คือการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย ในรูปแบบต่าง ๆ ที่กำลังนำมาใช้กับการศึกษาของไทย ด้วยความคิดที่ว่าการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา ที่สามารถนำไปใช้ เพื่อพัฒนา การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายหรือผ่านระบบออนไลน์ (Online instruction) เป็นทางเลือกใหม่ในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษา
       การเรียนการสอนผ่านเครือข่าย  เป็นการเรียนผ่านทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  (Computer network)  ทั้งหลาย รวมไปถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีอยู่นำเข้ามาเป็นตัวช่วยในการเพิ่มความสะดวกสบายในการเรียน การวัดผล และการจัดการการศึกษาทั้งหมด นอกจากนั้น ลักษณะ ของการเรียน  การสอนผ่านเครือข่าย ยังมีลักษณะเป็นการเรียนแบบออนไลน์ (Online) ซึ่งหมายถึง ลักษณะของข้อมูลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้การเรียนการสอนแบบออนไลน์เป็นการเรียนที่สามารถโต้ตอบกันได้เหมือนการเรียนในห้องเรียนปกติได้ (Interactive technology) และด้วยความสามารถของสื่อดิจิทัลมัลติมีเดียที่มีความเหมาะสมในการแสดงข้อมูลเป็นรูปภาพ กราฟ เสียง ข้อมูลตัวอักษร และภาพเคลื่อนไหวได้ ทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจมากขึ้น คุณสมบัติหลักอีกอย่างหนึ่งของการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนระยะไกล (Distance learning) ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกัน ก็สามารถมาเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนได้ทั้งแบบ Online และ Offline ทำให้เกิดลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning) ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองและมีอิสระในการเรียน มีความคล่องตัวในการเรียนมากขึ้น

     การพัฒนาระบบสนับสนุนการสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษาในลักษณะ คลังสื่ออิเลคทรอนิกส์และดิจิทัลเพื่อการศึกษา เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเนื้อหา การนำเนื้อหากลับมาใช้ใหม่ เพื่อแก้ไข           ในส่วนปัญหาการจัดเก็บสื่อดิจิทัล การจัดทำทำเนียบสื่อดิจิทัลอย่าง เป็นระบบ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับ สร้างสื่อการเรียนการสอนขั้นสูง ให้มีความทันสมัย มีระบบจัดการเผยแพร่ที่เป็นระบบ สามารถควบคุมลิขสิทธิ์การใช้งานได้    เกิดมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลเปิดโอกาสให้สืบค้นได้ตามความต้องการของครูและผู้เรียนภายใต้ การเคารพสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของผู้พัฒนา มีความสะดวก  และมีประสิทธิภาพต่อการส่งเสริมให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างเหมาะสม ทำให้ข้อมูลที่กระจัดกระจายถูกเชื่อมโยงรวมเข้าเป็นแหล่งเดียวกัน  ผู้สร้างสื่อการเรียนการสอนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการเพื่อนำมาประกอบการจัดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว 

ประหยัดเวลา  ประหยัดทรัพยากร บุคลากร  ประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างสื่อการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี และสามารถสร้างสื่อการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว   คณะผู้วิจัยพัฒนาคาดหวังประโยชน์ที่เกิดต่อสาธารณะในส่วนการศึกษาดังนี้ ครูผู้สร้างสื่อการเรียนการสอนสามารถใช้เป็นแหล่งศึกษา วิจัยค้นคว้าข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ     ครูผู้สร้างสื่อการเรียนการสอนสามารถจัดเก็บสื่อดิจิทัลที่กระจัดกระจาย ให้มาอยู่ในฐานข้อมูลเดียวกัน และสื่อดิจิทัลนั้นสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ตลอดเวลา    และปรากฏลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร โดยมีกลไกการอ้างอิงผู้สร้างที่ชัดเจนครูผู้สร้างสื่อการเรียนการสอนสามารถใช้งานระบบผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลาและทุกสถานที่ที่เชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ในลักษณะชุมชนนักปฎิบัติผู้สร้างสื่อการเรียนรู้ บ่มเพาะ สมรรถนะครูวิชาชีพรุ่นใหม่ที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงได้ โดย ลดระยะเวลา ลดทรัพยากร และลดค่าใช้จ่ายในการจัดการสื่อดิจิทัลหรือสื่ออิเลคทรอนิกส์อื่นๆได้ เป็นแนวทางอันสำคัญสำหรับผู้ครูที่จะนำเอาแนวคิดในการพัฒนาระบบสนับสนุนการสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษา โดยไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ในด้านอื่น ๆ ต่อไป

          ในระยะการพัฒนานำร่อง ผู้วิจัยได้จัดทำหลักสูตรประกันผล โครงการพัฒนาครูต้นแบบ การสร้างสื่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษาขั่นสูง เพื่อพัฒนาศักยภาพ สมรรถนะวิชาชีพทักษะขั้นสูงให้กับครูสายปฎิบัติการสอนจำนวน 60 คน เพื่อสำเร็จเป็นครูแกนนำขยายผลไปยังครูประจำการอื่น ๆ  ในเขต การศึกษาของตน และได้นำผลงานของครู 60 คนนี้    รวมถึงผลงานวิจัยเพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อที่ครูต้นแบบได้พัฒนาขึ้นบรรจุไว้เป็นสื่อนำร่องชุดแรกของคลั่งสื่ออิเลคทรอนิกส์ ดิจิทัลเพื่อการศึกษานี้ โดยคาดหวังยิ่งว่า คลังสื่อนี้จะเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการสร้างสื่อของครูไทยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของการศึกษาไทย เป็นช่องทางการนำเสนองานของครูคุณภาพ และผลงานอื่น ๆ ของครู  โดยไม่อยู่ภายใต้กรอบหรือการครอบงำ เงื่อนไขต่าง ๆ  ของระบบราชการ  ภาคการเมืองหรือ องค์กรแสวงหาผลกำไรอื่นใด สุดท้าย คาดหวังให้ผลแห่งคุณประโยชน์เกิดขึ้นกับ การศึกษาของลูกหลานเราสืบไป    

        ขอขอบคุณ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ที่ให้การสนับสนุนคณะบุคคล วิสาหกิจเริ่มต้น KeenSoft Coporation  ผู้ริเริ่มโครงการ  ศึกษานิเทศก์  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หัวหน้าสถานศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน คุณครูผู้เข้าร่วมโครงการ ฝ่ายจัดอาหารและพาหนะ ฝ่ายบัญชีกฏหมายและงบประมาณ องค์กรเอกชน ซึ่งได้มีส่วนให้้ความช่วยเหลือเกื้้อกูล จนโครงการดำเนินมาจนสำเร็จได้เป็นอย่างดี