Game Theory in Edutainment

Wishlist Share
Share Course
Page Link
Share On Social Media

About Course

ทฤษฎีเกมการศึกษาโมเดล Z-Cross

ากพูดถึงทฤษฎีเกมคนส่วนใหญ่จะนึกถึงทฤษฎีเกมในการนำไปใช้สำหรับสาขาทางเศรษฐศาสตร์ และสาขารัฐศาสตร์กันเป็นส่วนใหญ่ ดังจะเห็นได้จากข่าวการมอบรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2548 ให้กับ 2 นักเศรษฐศาสตร์ คือ Thomas Schelling และ Robert Aumann ซึ่งเป็นผู้นำ Game Theory มาใช้เพื่อทำความเข้าใจถึงสภาพของความขัดแย้ง และความร่วมมือ ความสัมพันธ์ขององค์กร และก่อนหน้านี้ในปี 2537 ได้มีการมอบรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ให้กับ John Nash , John Harsanyi และ Reinhart Selten ที่ได้ศึกษาเรื่องของทฤษฎีเกม(ถ้ายังจำได้มีการสร้างภาพยนตร์เรื่องชีวิตของ John Nash เรื่อง A Beautiful Mind ผู้คิดค้นทฤษฎี Nash Equilibrium หรือ จุลสมดุลของแนช) ทฤษฎีเกมไม่ได้ใช้เฉพาะสาขาเศรษฐศาสตร์หรือรัฐศาสตร์เท่านั้น แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับทางสาขาสังคมวิทยาอื่นๆ ได้อีกด้วย โดยเฉพาะการใช้ ทฤษฎีเกมเพื่อประโยชน์ในด้านสาขาการศึกษา ซึ่งการใช้ ทฤษฎีเกมเพื่อการศึกษานั้นมีความแตกต่างจากการประยุกต์ใช้ในสาขาอื่นๆ ตรงที่ทฤษฎีเกมตามทัศนะของนักเศรษฐศาสตร์เป็นการใช้หลักการทางคณิตศาสตร์และการคำนวณเพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมในการแสดงพฤติกรรม หรือนำมาอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ มองว่ามนุษย์คือผู้ที่อยู่ในเกมและจะตัดสินใจเล่นเกมนั้นอย่างไร ในขณะที่ทฤษฎีเกมตามทัศนะของนักการศึกษาเป็นการใช้หลักการทางจิตวิทยามาใช้เพื่อสร้างหรือจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่นให้กับผู้เรียน โดยมองว่ามนุษย์จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีการเรียนรู้อย่างมีความหมายในขณะหรือหลังจากการเล่นเกม โดยไม่ได้เน้นว่าเกมมีทางเลือกอย่างไรหรือควรจะตัดสินใจว่าจะเล่นเกมอย่างไร แต่เน้นผลที่ได้รับจากการเล่นเกม (อ้างอิงจาก https://kasineepuipui.wordpress.com) จนกระทั่งในปี 2021 Dr.Khammapun Khantanapoka ได้ออกแบบระบบแม่แบบเกมเพื่อการศึกษา ในชื่อว่า Z-Cross โดยทำการศึกษาโมเดลจาก  โปรแแกรม RPG Maker MV

Show More

What Will You Learn?

  • 1. ทฤษฎีทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • 2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสื่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษา
  • 3. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโมเดล Z-Cross ที่ใช้ในการสร้างสื่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษาอิงตามหนังสือแบบเรียน
  • 4. กระบวนการขั้นตอนการสร้างสื่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษา
  • 5. การสร้างชุดการเรียนรู้เพื่อใช้ประกอบรูปแบบการเรียนการสอนด้วยสื่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษา
  • 6. การวิจัยในชั้นเรียนเพื่่อวัดประสิทธิภาพของสื่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษา

Course Content

รูปแบบการแปลงแบบเรียนรายวิชาเป็นสื่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษาด้วย Model Z – Cross
ทำความเข้าใจโมเดล Z - Cross ทั้งด้านองค์ประกอบและการนำไหใช้งานในการสร้างสื่อเกมเพื่อการศึกษา

การสร้างสื่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษาเพื่อใช้จริงในชั้นเรียน
กระบวนการ กลวิธีและขั้นตอนการสร้างสื่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษา

การเรียนการสอนสำหรับสื่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษา
โมเดลการเรียนรู้

การวิจัยในชั้นเรียนขั้นพื้นฐานโดยใช้สื่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษา

การวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้สื่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษาขั้นประยุกต์

Student Ratings & Reviews

No Review Yet
No Review Yet

Want to receive push notifications for all major on-site activities?