………เกมเล่นตามบทบาท หรือ เกมอาร์พีจี (อังกฤษ: Role-playing game: RPG) คือเกมประเภทหนึ่งที่ผู้เล่นสมมุติรับบทเป็นตัวละครหนึ่งในเกม โดยเล่นตามกฎกติกาของเกมผ่านการป้อนคำสั่งและเลือกเงื่อนไขที่เกมกำหนดมา โดยผลลัพธ์ที่เกิดจะแตกต่างกัน ตามเงื่อนไขที่เลือก โดยเกมอาจจะเป็นทั้งลักษณะ การเล่นโดยเขียนในกระดาษ วิดีโอเกมหรือคอมพิวเตอร์เกมก็ได้
……….ระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นระดับชั้นที่สามารถนำเกมประเภท RPG Role Base มาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชา โดยมีหลักการพิจารณาและอรรถาธิบายดังรายงานทางทฤษฎีดังนี้
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bloom (Bloom’s Taxonomy)
……….ทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐานว่า มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ และนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า Taxonomy of Educational objectives
………1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
………พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความคิด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย 6 ระดับ ได้แก่
………………1.1 ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่าง ๆ และระลึกเรื่องราวนั้นๆ ออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ
………………1.2ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการแปลความหลัก ตีความได้ สรุปใจความสำคัญได้
………………1.3 การนำความรู้ไปประยุกต์ (Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆของเรื่องที่ได้รู้มา นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
………………1.4 การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆ ได้อย่างชัดเจน
………………1.5 การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันโดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น
………………1.6 การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัยหรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไปการประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์คือ มาตรฐานในการวัดที่กำหนดไว้
………2. จิตพิสัย (Affective Domain) (พฤติกรรมด้านจิตใจ)
………ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้ จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อยๆ 5 ระดับ ได้แก่
การรับรู้ | การตอบสนอง |
การเกิดค่านิยม | การจัดระบบ |
บุคลิกภาพ |
………
………3.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)
………พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้
การรับรู้ | กระทำตามแบบ |
การหาความถูกต้อง | การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจ |
การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ |
………
เกมภาษา RPG กับการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
………ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะแสวงหาความรู้ และแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหา เป็นแนวทางที่พัฒนาขึ้นตามหลักสูตร science a process approach (SAPA) ของสมาคมอเมริกันเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ (The American association for the advancement of science) ประกอบด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆที่ เกม RPG lสามารถเสริมสร้าง
ทักษะที่ 1 การสังเกต (Observing) | ทักษะที่ 2 การวัด (Measuring) |
ทักษะที่ 3 การคำนวณ (Using numbers) | ทักษะที่ 4 การจำแนกประเภท (Classifying) |
ทักษะที่ 5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา (Using space/Time relationships) ผ่านกระบวนการจับเวลาและความสัมพันธ์ระหว่างภารกิจในเกมกับเวลา | ทักษะที่ 6 การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล (Communication) และสามารถสรุปใจความสำคัญของข้อมูล และการตัดสินใจในเกมได้อย่างเหมาะสม |
ทักษะที่ 7 การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) สามารถอธิบายหรือสรุปประเด็น เพิ่มความคิดเห็นของตนต่อข้อมูลที่ได้มาและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้เล่นร่วมทีมของตนได้ | ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Predicting) ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถทำนายผลที่อาจจะเกิดขึ้นจากข้อมูลบนพื้นฐานหลักการ กฎของเกม หรือแนวคิดที่มีอยู่ ทั้งภายในขอบเขตของข้อมูล และภายนอกขอบเขตของข้อมูลในเชิงปริมาณได้ |
ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating hypotheses) สามารถตั้งคำถามหรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองแนวทางในการแก้ปัญหาของเกมได้ เข้าใจปัจจัยข้อจำกัด | ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining operationally) ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะการแก้ปัญหา การทดลองทางเลือกได้อย่างเหมาะสม |
ทักษะที่ 11 การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables) | ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experimenting) ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะการลองผิดลองถูก |
ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูล และการลงข้อมูล (Interpreting data and conclusion) สามารถบอกความสัมพันธ์ของข้อมูลและความสัมพันธ์ของตัวละครได้ |
การประยุกต์ใช้เกมการศึกษาเข้าสู่ประมวลวิชาในชั้นเรียน
โปรแกรมสื่อการเรียน 8 กลุ่มสาระ ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 และมัธยมศึกษาตอนต้น ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 และมัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่
………1. เกมภาษา RPG กับการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
………2. เกมเพื่อเสริมสร้างทักษะภาษาด้าน การฟัง การพูด การอ่าน สระไทย
………3. เกมภาษา RPG กับการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
………4. เกมเพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการแก้ปัญหา
………5. เกมเพื่อเสริมสร้างทักษะการใช้รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหา ตามแนวคิดของโพลยา(Polya)
………6.เกมเพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการ การให้เหตุผล
………7.เกมเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสารในการเรียนกับเกมแบบทีมแก้ปัญหา
………8. เกมเพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการ การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ผ่านเรื่องราวของเกม
………9. เกมเพื่อเสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผ่านบทบามสมมุติ
………10.เกมภาษา RPG กับการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเสริมสร้างความรู้ความคิด ความสามารถ ทักษะ ค่านิยมและเจตคติที่ดี ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรมการพัฒนาทักษะทางสังคมหน้าที่พลเมือง การทำงานแบบร่วมมือ รู้จักการยอมรับวัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ผ่านความหลากหลายของการปฎิสัมพันธ์กับสิ่ง ต่าง ๆ ภายในเกม รวมถึงการพัฒนาเจตพิสัยและคุณลักษณะ
………11. เกมภาษา RPG กับการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เสริมสร้างเข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิตเข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว การเล่นเกม การเล่นเกมอย่างมีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแข่งขันและชื่นชม ในสุนทรียภาพของการกีฬาและการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
………12.เกมภาษา RPG กับการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงามของฉาก ภาพดิจิทัล เสียง ที่มีสุนทรียภาพของฉากและภาพเคลื่อนไหวตัวละครต่าง ๆ ความมีคุณค่า รวมถึงเกมสามารถพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจนการนำไปสู่การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง ซึมซับความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบศิลป์ เสียงดนตรีประกอบเหตุการณ์ มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบดนตรีแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบนาฏศิลป์ การแสดงออกทางภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ ถ่ายทอดความรู้สึกสนุก ความคิดอย่างอิสระ สร้างสรรค์มโนทัศน์ต่อยอดจากการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ ที่ท่าทางของตัวละครและภาพเทคนิคเอฟเฟคต่าง ๆ ภายในเกม
………13.เกมภาษา RPG กับการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สร้างเสริมเข้าใจในการทำงานอย่างเป็นระบบ มีเหตุผล มีความคิดสร้างสรรค์บนความตัดสินใจที่เหมาะสมกับสภาพจริง มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาเหตุการณ์เฉพาะหน้า ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีทักษะการวางแผน การเอาตัวรอดอย่างมีคุณธรรม มีจิตสำนึกในการตระหนักถึงใช้พลังงาน การวางแผนทรัพยากรในเกม การแสวงหาทรัพยากรและการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตในเกม และเข้าใจเห็นคุณค่าของชีวิต และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล
………14.เกมภาษา RPG กับการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก ของตัวละครต่าง ๆ ภายในเกม สามารถสังเคราะห์ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ตลอดจนการตีความภาษาจากการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะเข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับกาลเทศะ
การประยุกต์ใช้เกม RPG เพื่อการศึกษาสามารถพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ
………1.ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคมผ่านบทสนทนาต่าง ๆ ภายในเกม RPG
………2.ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม ผ่านการฝึกฝนการตัดสินใจที่เหมาะสมจากภารกิจต่าง ๆ ภายในเกม RPG
………3.ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
………4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
………5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม
………เกมการศึกษาเป็นสื่อการเรียนรู้และกิจกรรมหลักตามหลักสูตรการศึกษาที่ใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อพัฒนาเด็กให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และเน้นทางด้านสติปัญญาหรือการคิดให้แก่เด็ก เกมการศึกษามีหลายประเภท มีรูปแบบและวิธีเล่นแตกต่างกันไป สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมความคิดให้แก่เด็กคือ การเล่นเกมการศึกษาควรมีคำถามกระตุ้นให้เด็กได้คิดด้วย เพราะตามธรรมชาติของเด็กมีความสงสัยใคร่รู้อยู่เสมอ และเมื่อเด็กได้รับการกระตุ้นด้วยคำถามซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่ดีชวนให้เด็กสงสัย จูงใจให้เด็กเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพทางความคิดที่เด็กมีอยู่ในตัว ตนให้ก้าวขึ้นสู่ขีดสูงสุด และเมื่อผู้ใหญ่เข้าใจธรรมชาติของเด็กได้ให้การสนับสนุนเด็กหรือตอบ สนองเด็กด้วยความเต็มใจที่จะตอบแก่เด็ก เด็กก็เกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ โดยปกติแล้วเด็กปฐม วัยจะช่างสังเกตและสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่แวดล้อมตัวเอง เมื่อจัดอุปกรณ์หรือสิ่งเร้ามาให้เด็กพัฒนา การสังเกต โดยใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ทุกด้าน เด็กจะพัฒนาการคิดได้อย่างดี เกมการศึกษาเป็นสิ่งเร้าที่ดี เป็นสื่อและกิจกรรมที่เด็กสังเกตเห็นได้อย่างเด่นชัด เปรียบเทียบหาความแตกต่างของสิ่ง ของหรือหารายละเอียดบางอย่างในภาพขณะเดียวกันมีคำถามชวนให้เด็กสังเกตมากขึ้น ได้คิด จะช่วยให้เด็กมีการพัฒนาเป็นผู้ใฝ่รู้และหาความจริงจากสิ่งที่เห็น หรือได้คิด ช่วยให้เด็กกล้าแสดงออก เรียนรู้ที่ฟังผู้อื่นได้ต่อไป
………ส่งเสริมการสังเกตและเปรียบเทียบจากของจริง วัสดุสิ่งของต่างๆ และรูปภาพ ส่งเสริมการใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล การตัดสินใจแก้ปัญหา ส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ส่งเสริมการเล่นร่วมกัน เป็นการสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่น เพราะในบรรยากาศการเล่นนั้นเป็นการฝึกฝนการยอมรับผู้อื่น และการที่ผู้อื่นยอมรับตนได้ เป็นการเรียนรู้การเข้าสังคม เด็กจะแสดงพฤติกรรมจากการสนทนาถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ส่งเสริมให้เด็กมีความกล้าในการแสดงออก กล้าพูด กล้าคิด โดยครูควรมีคำถามให้คิดเกี่ยวกับภาพในเกมหรือเรื่องราวจากเกม ส่งเสริมให้เป็นคนยอมรับการแพ้ ชนะ การทำตามกติกา ส่งเสริมให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน และผ่อนคลายจากกิจกรรมอื่น เด็กจะร่าเริงแจ่มใสและมองโลกในแง่ดี ส่งเสริมนิสัยดีให้แก่เด็ก เช่น การมีวินัยในตนเองและหมู่คณะ ความอดทนอดกลั้น ความชื่อสัตย์ การเป็นผู้นำผู้ตาม ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าด้วยตนเองจากสื่อการเล่นและเรียนรู้ที่จะเล่นจากวิธีการเล่น ส่งเสริมทักษะที่ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ทักษะการฟัง การดู การดม การชิม และการจับสัมผัส เกมการศึกษาเปิดโอกาสให้เด็กได้กระทำ ได้สำรวจ ค้นคว้า จึงเป็นประสบการณ์ตรงที่เด็กเต็มใจรับด้วยความสนุก ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด